แผ่นฉนวนกันความร้อน PE (Polyethylene ) โฟมเคลือบฟอยล์ลดความร้อน
แผ่นฉนวนกันความร้อนพีอี PE ชนิดแผ่น (Sheet) ที่มีลักษณะเป็นวัสดุโฟมจะมี คุณสมบัติ ต้านทาน ความร้อน ส่วนแผ่นฟอยล์ จะสามารถโฟมเหนียวนุ่มมีแผ่นฟอยล์บางๆ หุ้มเคลือบ อยู่บนผิวอีกชั้นหนึ่ง ตัวช่วย สะท้อน ความร้อและปกป้องแผ่นโฟม
แผ่นฉนวนกันความร้อนพีอี PE ทำมาจาก โพลีเอทิลีน (Poly Etylene) เป็นโพลิเมอร์ที่นำมาใช้งานมาก ที่สุด ราคาถูก จัดเป็นพวกพลาสติจึงมีน้ำหนัก เบา เหนียว แน่น ทนต่อแรงกระแทกได้ดี
แผ่นฉนวนกันPE ทนทาน ต่อการกัดกร่อน ต้านทาน สารที่เป็นกรด แอลกอฮอล์ จึงเหมาะสมกับ การใช้ ในโรงงานเคมี ที่มีไอระเหย ของกรด(Acid Vapour) แผ่นฉนวน PE จึงช่วยปกป้อง แผ่นเมทัลชีท จากอันตรายจากการกัดกร่อน
ฉนวนกันความร้อน กับ การลดความร้อน
การติดตั้งฉนวนกันความร้อนก็เพื่อป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในบ้าน ซึ่งเจ้าความร้อนนี้จะเข้ามาสู่ตัวบ้านของเราแทบจะทุกทิศทาง โดยปกติความร้อนจะเข้ามา ทางหลังคาเป็นปริมาณ 70% และทางผนังอีก 30% ดังนั้น ถ้าต้องการให้ความร้อนเข้ามาทางหลังคาได้ ต้องการให้บ้านเย็นสบาย ก็ควรมีการติดตั้งฉนวนกันความร้อนที่ใต้หลังคาหรือฝ้าเพดานเช่นโฟมแผ่น โฟม PE เยื่อกระดาษ ติดตั้งแบบแผ่นหรือระบบฉีดพ่นก็ได้
การติดตั้งฉนวนกันความร้อน เพื่อป้องกันความร้อนเข้ามาทางด้านหลังคานั้น ส่วนใหญ่ แล้วช่างจะปูแผ่นฉนวน หรือ แผ่นสะท้อน ความร้อนใต้แปก่อนมุงหลังคา การจะติดตั้งแผ่นฉนวนความร้อน อาจต้องมีฝ้าเพดานเพื่อช่วยรับตัวฉนวน แต่ในกรณีของ แผ่นหลังคาหรือผนังเหล็ก เมทัลชีท เราสามารถติดแผ่นฉนวนโฟม PE หรือแผ่นฉนวน PU FOAM ได้โดยตรง กับตัวหลังคาโดยไม่จำเป็นต้องมีฝ้าเพดาน การติดฉนวนกันความร้อน PE ที่ใต้ท้องลอนของ หลังคา เมทัลชีท นั้นได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงอยู่ในปัจจุบันเนื่องจากรวดเร็วและประหยัด การเลือกฉนวนนั้นควรเลือกฉนวนที่มีความเหนียวทนทาน ทนต่อความชื้น ป้องกันความร้อน มีค่าการนำความร้อนที่ต่ำ ทนทานต่อการติดไฟ
คุณสมบัติฉนวนกันความร้อนชนิดแผ่น( โฟมแผ่น )
1. ผลิตภัณฑ์ประเภท PE ผลิตจากโพลีเอธิลีนโฟม (PE Foam) ปลอดภัยไม่เป็นพิษ
2. เหนียวแน่น ทนทานสูง เนื่องจากเป็นโฟมที่มีโครงสร้างของเซลแบบปิด( Close Cell) ที่สมบูรณ์แบบ จึงมีการเกาะ เกี่ยวกันอย่างสมบูรณ์มั่นคง จึงทำให้น้ำ ไอน้ำและความชื้น ไม่สามารถทะลุผ่านได้
3. ไม่มีควันพิษเมื่อเกิดลุกไหม้ การลามไฟ Class HF-1
4. น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นสูง เข้ารูปได้ดี
5. ติดตั้งง่าย จึงช่วยให้ประหยัดโครงสร้าง ประหยัดค่าแรง
จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานหลังคาเหล็ก หรือเมทัลชีท
6. ป้องกันรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต (UV) อายุการใช้งานยาวนาน
7. ไม่ดูดซับน้ำ ต้านทานการซึมผ่านไอน้ำสูง
8. สามารถทนกรดและด่างได้ดีเยี่ยม
9. ต้านทานความร้อนได้ดีเยี่ยม เนื่องจากมีค่าการนำความร้อนต่ำ
10. ไม่ใช้สาร CFC ในขบวนการผลิต ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และยังสามารถนำกลับมา Recycleใหม่ได้
การป้องกันความร้อนในงานหลังคา
โดยปกติแล้วหลังคาเป็นด่านแรกที่ได้รับความร้อนและจะคลายความร้อนสู่ด้านล่างฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีฉนวนป้องกันความร้อน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการต้านทานความร้อน ก็สามารถ ทำได้โดยง่ายๆ ด้วยวิธีการติดฉนวนกันความร้อนพีอี(PE) หรือพ่น พียู โฟม ( PU FOAM ) ที่ใต้ท้องแผ่นหลังคา เราสามารถติดตั้งฉนวนความร้อนได้ ทั้งที่หลังคาและผนังรวมทั้งฝ้าเพดาน หากมีงบประมาณไม่มาก ควรเลือกติดที่หลังคาเพราะหลังคาจะได้รับความร้อนมากที่สุด
การผลิตฉนวนกันความร้อน PE
ฉนวนกันความร้อน พีอี PE ผลิตจาก Low Density Polyethylene (LDPE) ที่มีลักษณะ เป็นเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) ที่สามารถนำเศษวัสดุนำกลับมา (Recycle) ได้ กระบวนการการผลิตเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงรูปร่างวัตถุดิบด้วยความร้อน (NON-CROSSED LINK) ภายใต้ความดันอากาศที่เหมาะสมไม่มีการใช้สาร CFC ในกระบวนการผลิต ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี และไม่อาบรังสี ทุกขั้นตอนในการผลิต
ฉนวนกันความร้อนหรือพียูโฟมคืออะไร